top of page
กะหล่ำปลี   (Cabbage) 
กะหล่ำดอก
(Cauliflower) 

กะหล่ำดอกอยู่ในสกุลเดียวกันกับบล็อคโคลี่และกะหล่ำปลีและมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งเช่นเดียวกับบล็อคโคลี่ กะหล่ำดอกมีสารซัลฟอร์ราเพน และ ไอโซธิโอไซอาเนท ซึ่งสารไฟโตนิวเทรียนท์ทั้งสองประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์ของตัวมันเอง

เป็นแหล่งของสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่เรียกว่า แอนโตไซอานินส์ กะหล่ำปลีจะเสริมสร้างระบบการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการลดอาการเจ็บของแผลพุพองอีกด้วย

มีวิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ รวมถึงช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

แครอท
(Carrot) 
คะน้า
(Kale) 

สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับผักและสรรพคุณ

 

อาหารประเภทผัก ผลไม้ เป็นอาหารธรรมชาติที่มีสารสำคัญที่เรียกว่า Phytonutrient (ไฟโตนิวเทรียนท์) มากมายหลายชนิด ไฟโต

นิวเทรียนท์ เป็นสารธรรมชาติ ในผักผลไม้ที่เป็นสารสำคัญที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ทั้งนี้ด้วยกลไกที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant )จากธรรมชาติ อนุมูลอิสระคือ โมเลกุลที่มีธาตุที่ไม่มั่นคงเนื่องจากขาดอิเลกตรอนไป 1ตัว อนุมูลอิสระถือเป็นสารพิษที่สำคัญต่อเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ถ้ามีมากในเซลล์ก็เป็นอันตรายได้ โดยจะทำลาย ดีเอนเอ เยื่อหุ้มเซลล์ และ

องค์ประกอบอื่นๆของเซลล์นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการก่อให้เกิด

การอักเสบ ซึ่งเป็นการทำลายเนื้อเยื่อในระยะสั้น หรือมีผลในระยะยาวโดยเป็นสาเหตุของ ความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ และอาจเป็นสารการก่อมะเร็ง โรคหัวใจ ต้อกระจก โรคทางภูมิคุ้มกันและโรคเรื้อรังอีกหลายชนิด ไฟโตนิวเทรียนท์จากผักและผลไม้ถือเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ปัจจุบันจึงมีการสนับสนุนให้ทานผักและผลไม้มากขึ้น ในผู้ที่ไม่สามารถจะทานผักและผลไม้ได้ หรือทานได้น้อย ปัจจุบันก็มีอาหารสุขภาพที่สกัดสารสำคัญจากผักและผลไม้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค

มีเบต้า แครอทีน ในปริมาณสูง แครอทช่วยเสริมสร้างการมองเห็นและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ

ชาเขียว
(Green Tea) 
ตำลึง
(Ivy Gourd) 

มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟีนอล สูง ซึ่งเรียกว่า คาเทคชิน ชาเขียวช่วยให้เซลล์ร่างกายแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคร้ายและมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการลดน้ำหนักโดยการช่วยเผาผลาญ    ไขมันเร็วขึ้น

ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน

ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก และฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่น ๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและ

ตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด

แตงกวา (Cucumber) 

แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้บวมอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้ไข้

ตัวร้อน แก้กระหายน้ำ แก้คอเจ็บ แก้ตาแดง แก้ไฟลวก แก้นิ่ว แก้ผดผื่นคัน แก้ขัดเบา ทำให้ผิวชุ่มชื้น แก้สิว

บล็อคโคลี่ (Broccoli) 

มีสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่เรียกว่า ซัลฟอร์ราเพน สูง บล็อคโคลี่สามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายร่างกาย ช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดและช่วยขับสารพิษออกจากไต

บีท
(Beet) 
ผักบุ้ง
(Water Spinach) 

บีท มีส่วนประกอบที่เรียกว่า บีเทน ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบีทช่วยดำรงไว้ซึ่งสุขภาพตับที่ดีโดยการกำจัดไขมัน

ผักบุ้งขาว หรือผักบุ้งจีน ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ
สรรพคุณของผักบุ้ง โดยเฉพาะผักบุ้งไฟแดง คนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดงหรือคันนัยน์ตาบ่อยๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้นจะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็น

โรคกระเพาะอาหาร

พริก
(Red/Green Chili) 

แก้บิด กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร

ลดอาการอักเสบ ละลายลิ่มเลือด ป้องกันมะเร็งในลำไส้

มะเขือเทศ (Tomato) 

สารไฟโตนิวเทรียนท์หลักจะพบในมะเขือเทศ เป็นที่รู้กันว่า ไลโคเพนเป็นสารต่อต้านมะเร็งและช่วย battle macular degeneration และช่วยเสริมสร้างหัวใจให้แข็งแรง

หอมแดง
(Shallot) 

ขับลม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้หวัด ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร

หัวหอม
(Onion) 

นานมาแล้วที่หัวหอมถูกนำมาใช้เพื่อคงไว้ซึ่งความมีสุขภาพดีของกล้ามเนื้อหัวใจ พืชในสปีชี่นี้และส่วนประกอบของมันมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดและส่งผลกระทบในด้านบวกในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lifestyles.net/th-th/nutrition-2.php

bottom of page